วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย


16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย



                นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2552:293) ได้กล่าวไว้ว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการแจ้งให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยได้ทราบว่าในการ ศึกษาวิจัยนี้มีอุปสรรคและข้อจำกัดอะไรบ้างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
                มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ (2545:222) ได้กล่าวไว้ว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัยที่มีเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ต้องการจะทำการศึกษา
                 จำเรียง กูรมะสุวรรณ (2529:162) ได้กล่าวไว้ว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย
                  สรุป ข้อจำกัดในการวิจัย คือ ความคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นเองในการวิจัย โดยผู้วิจัยไม่สามารถควบคุม หลีกเลี่ยงได้ และสิ่งนั้นมีอิทธิพลต่อข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้การวิจัยได้ผลไม่สมบูรณ์

เอกสารอ้างอิง
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2552). การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว.(พิมพ์ครั้งที่2):นำศิลป์โฆษณา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์. (2545). สถิติและการวิจัยทาง
สังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่1)นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จำเรียง กูรมะสุวรรณ. (2552). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ:สามเจริญพานิช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น