3. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย
หลังจากที่ผู้วิจัยได้เขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรมแล้ว ควรมีการประเมินงานเขียนเรียบเรียงนั้นอีกครั้งหนึ่ง ว่ามีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ภาษา และความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน สำหรับการประเมินการเขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรม Polit & Hungler (1983, อ้างใน ธวัชชัย วรพงศธร, 2538 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญไว้ โดยการให้ตอบคำถามต่อไปนี้
1. รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับปัญหาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศึกษามาก่อนแล้ว
หรือไม่
1.1 รายงานนั้นได้เรียบเรียงจากแหล่งเอกสารทุติยภูมิมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งตามความ
เป็นจริงแล้วควรใช้แหล่งเอกสารปฐมภูมิ (ต้นฉบับ) ให้มากที่สุด
1.2 รายงานได้ครอบคลุมเอกสาร ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาครบหมดหรือไม่
1.3 รายงานได้ครอบคลุมเอกสารใหม่ๆหรือไม่
1.4 รายงานได้เน้นในเรื่องความคิดเห็น หรือการบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรม มากเกินไปและมีการเน้นผลการวิจัยด้านปฏิบัติจริงๆ น้อยไปหรือไม่
1.5 รายงานได้เรียบเรียงข้อความอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์หรือไม่ หรือเป็นเพียงแต่ลอก
ข้อความจากเอกสารต้นฉบับมาเรียงต่อกันเท่านั้น
1.6 รายงานนั้นเป็นแต่เพียงสรุปผลการศึกษาที่ทำมาแล้วเท่านั้น หรือเป็นการเขียนใน
เชิงวิเคราะห์วิจารณ์ และเปรียบเทียบกับผลงานเด่นๆ ที่ศึกษามาแล้วหรือไม่
1.7 รายงานได้เรียบเรียงในลักษณะที่เชื่อมโยง และชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในความ
คิดอย่างชัดเจนมากน้อยแค่ไหน
1.8 รายงานได้นำผลสรุปของงานวิจัยและข้อเสนอแนะของการนำผลการวิจัยไปใช้ ทั้งหมด มาเชื่อมโยงกับปัญหาที่จะศึกษามากน้อยแค่ไหน
2. รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับกรอบทฤษฎี หรือ กรอบแนวคิดหรือไม่
2.1 รายงานได้เชื่อมโยงกรอบทฤษฎีกับปัญหาที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติหรือไม่
2.2 รายงานได้เปิดช่องโหว่ให้เห็นถึงกรอบแนวคิดอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่
2.3 รายงานได้เชื่อมโยงอนุมานจากทฤษฎี หรือกรอบแนวคิดอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่
http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/images/stories/researchknowledge/R2R4/__17_pdf.pdf ได้กล่าวไว้ว่า เพื่อเป็นการฟื้นฟูความรู้ในเบื้องต้น ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเป้าหมายของการทบทวนวรรณกรรม จะประกอบด้วยเป้าหมายหลัก ดังนี้
1) การหาความสำคัญของปัญหา
2) การหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการทำวิจัย
3) แสดงความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่ และดูว่ามีองค์ความรู้ใดบ้างที่ยังขาดหายไป
4) สรุปกรอบแนวคิดที่จะทำวิจัย
http://thethanika.blogspot.com/2011/06/blog-post_476.html ได้กล่าวไว้ว่า หลักการสำคัญในการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.เพื่อเป็นการค้นคว้าหาหัวข้อวิจัยว่า มีประเด็นปัญหาอะไรที่น่าจะนำมาเป็นปัญหา(ซึ่งผู้วิจัยยังไม่ทราบว่าจะทำเรื่องอะไร)
2.เพื่อศึกษาว่าในเรื่องที่ผู้วิจัยจะทำวิจัยนี้ มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง ถ้าทำแล้วมีผลอย่างไร จะต้องเสริมจุดไหนที่ยังไม่ชัดเจน (ซึ่งแสดงว่าเรื่องที่จะทำวิจัย ยังไม่ชัดเจนถึงขนาดตั้งเป็นชื่อเรื่องได้
1.เพื่อเป็นการค้นคว้าหาหัวข้อวิจัยว่า มีประเด็นปัญหาอะไรที่น่าจะนำมาเป็นปัญหา(ซึ่งผู้วิจัยยังไม่ทราบว่าจะทำเรื่องอะไร)
2.เพื่อศึกษาว่าในเรื่องที่ผู้วิจัยจะทำวิจัยนี้ มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง ถ้าทำแล้วมีผลอย่างไร จะต้องเสริมจุดไหนที่ยังไม่ชัดเจน (ซึ่งแสดงว่าเรื่องที่จะทำวิจัย ยังไม่ชัดเจนถึงขนาดตั้งเป็นชื่อเรื่องได้
สรุป การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการฟื้นฟูความรู้ในเบื้องต้น ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเป้าหมายของการทบทวนวรรณกรรม จะประกอบด้วยเป้าหมายหลัก ดังนี้
1) การหาความสำคัญของปัญหา
2) การหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการทำวิจัย
3) แสดงความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่ และดูว่ามีองค์ความรู้ใดบ้างที่ยังขาดหายไป
4) สรุปกรอบแนวคิดที่จะทำวิจัย
เอกสารอ้างอิง
http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/images/stories/researchknowledge/R2R4/__17_pdf.pdf [ออนไลน์]เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2555
http://thethanika.blogspot.com/2011/06/blog-post_476.html [ออนไลน์]เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น