วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการวิจัย (Research Design)


11.รูปแบบการวิจัย (Research Design)



                  ดร.ไพศาล หวังพานิช(2531:80)ได้กล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย เป็นแบบการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการศึกษาค้น คว้าได้อย่างถูกต้องแบบการวิจัยมีหลายแบบด้วยกัน ซึ่งมีตั้งแต่แบบที่ง่ายไปจนถึงแบบที่สลับซับซ้อนการที่ผู้วิจัยจะเลือกใช้ แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการศึกษา ต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้าง ลึกซึงแค่ไหน
                   ศ.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2533:16)ได้กล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง
                     http://ruchareka.wordpress.co ได้รวบรวมไว้ว่า รูปแบบการวิจัย (Research Design)   
มี 2 แบบ คือ
1.การวิจัยโดยการทดลอง (Experimental Research) มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง (Exposure) หรือสิ่งแทรกแซง (Intervention)
2.การวิจัยโดยการสังเกต (Observational Research) ใช้การเฝ้าสังเกต ไม่มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง หรือสิ่งแทรกแซง
 มี 2 แบบ คือ
2.1การวิจัยเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) ไม่มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ
 มี 2 แบบ คือ
2.1.1การวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Studies)
2.1.2การวิจัยเชิงพรรณนาระยะยาว (Longitudinal Descriptive Studies)
2.2การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic Studies) มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ
มี 3 แบบ คือ
2.2.1การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Analytic Studies)
2.2.2การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า จากเหตุไปหาผล (Prospective Analytic Studies / Cohort Studies)
2.2.3การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง จากผลไปหาเหตุ (Retrospective Analytic Studies / Case-control)
                  สรุป รูปแบบการวิจัย เป็นแบบการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการศึกษาค้น คว้าได้อย่างถูกต้องแบบการวิจัยมีหลายแบบด้วยกัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง
เอกสารอ้างอิง
ไพศาล หวังพานิช.(2531). วิธีการวิจัย.กรุงเทพฯ:งานส่งเสริมวิจัยและตำรากองบริหารการศึกษา
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2533). การวิจัย การวัดและประเมินผล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศรีอนันต์.
http://ruchareka.wordpress.com [ออนไลน์]  เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น